Monday, June 18, 2012

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า บทส่งท้าย

การที่จะรู้ว่าเราเป็นคนแบบไหนมีเวปที่ สามารถทำทดสอบได้หลายๆที่โดย Search คำว่า Personality Test เช่น
http://www.humanmetrics.com/cgi-win/jtypes2.asp
เวปนี้ก็มีคำถามเยอะหน่อยก็พยายามแปลกันนะคะอย่ามั่วเพราะไม่งั้นเสียเวลาเปล่าค่ะ 

หลังจากทำ test แล้วก็จะได้ส่วนประกอบทั้ง 4 และคำอธิบายว่าลักษณะของเราเป็นอย่างไร
หลังจากที่ได้แล้วก็นำมาพิจารณาเพราะในความเป็นจริง ไม่มีใครที่จะเป็นสุดๆ ในแต่ละด้าน ดังนั้นถ้าได้รับการฝึกฝนพยายามปรับเพื่อให้เข้ากับการทำงาน ก็จะสามารถนำความเข้าใจตัวเองนี้ไปส่งเสริมการทำงานให้ดียิ่งขึ้น (เรื่องนี้ก็ทำให้หัวหน้าไม่ต้องคอยบอกคอยเตือนหรือหาเรื่องหักเงินเดือนเราอีกต่างหาก อิอิ) 

บางทฤษฎี ก็จะแยกแยะผลของ Personality test เป็น 2 กลุ่มอีก (นอกเหนือจาก type ที่กล่าวไปแล้ว) คือ Natural VS Adapted  ที่แบ่งเช่นนี้เพราะบางคนอยู่บ้านมักจะแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมา (Natural)  แต่ถ้าที่ทำงานก็จะเป็นอีกแบบ (Adapted) ซึ่งในทฤษฎีนั้นกล่าวว่าถ้าหาก Natural และ Adapted นั้นต่างกันสุดขั้ว คนๆนั้นจะมีปัญหาการทำงานอย่างแรงเพราะมันไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง และอาจจะเหมือนเด็กๆ ที่ตื่นตอนเช้ามาแล้วก็ร้องว่า " หนูไม่อยากไปทำงานเลย แม่จ๋า" 


ซึ่งถ้าเกิดอาการนี้และไม่สามารถรับได้จริงๆ การหางานอื่นๆ ที่เราได้ใช้ตัวตนของเราหรือไกล้เคียงตัวตนเราก็จะทำให้มีความสุขขึ้นเยอะทีเดียว

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเพียงทฤษฎีเดียวจากหลายๆทฤษฎีที่เค้าใช้ทำการวิเคราะห์ ดังนั้นเราสามารถใช้อากู๋ (Google) เพื่อการศึกษาหาทฤษฎีอื่นๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจของเราได้


สิ่งหนึ่งที่จะบอกว่าการรู้ตัวตนของเราและผู้อื่นนั้นควรคำนึงถึงศีลธรรมจรรยาบรรณ (Ethics) ในการใช้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ควรใช้เพื่อส่งเสริมตัวเองและผู้อื่นให้เจริญในทางที่ควรจะเป็น มิใช่ส่งเสริมหรือกอบโกยเพื่อประโยชน์ตนโดยขาดซึ่งศีลธรรมจรรยาบรรณ ดังที่เคยประสบในการสัมภาษณ์คนๆหนึ่ง ที่คิดนำสิ่งนี้มาเพื่อสร้างประโยชน์ตน พอได้ฟังดังนั้นคนๆนี้ก็ตกสัมภาษณ์ทันทีเช่นกัน เพราะเรื่องของศีลธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างปกติสุข ถ้าหากเรานำคนแบบนี้เข้ามาก็ไม่รู้ว่าจะสร้างศัตรูอีกเท่าไหร่ (เว่อร์ไปป่ะ ๕๕๕) 
สรุปว่ารู้เค้ารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง จริงหรือไม่ลองถามตัวเองดูนะคะ ^____^

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า ตอนที่ 5

ในที่สุดก็มาถึง Preference สุดท้าย (จนได้)
4. วิธีการใช้ชีวิตในโลกใบนี้ Judging (J) vs Perceiving (P)
อาจมีคนสงสัยว่ามันเกี่ยวอะไรกันกับ Characteristic ของเรา ในหมวดนี้จะอธิบายถึงลักษณะนิสัยของแต่ละคนว่าจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย มีวินัย และ มีความยืดหยุ่นกันแค่ไหนในการใช้ชีวิตประจำวันหรือในการทำงาน 


Judging (J) เป็นกลุ่มคนที่มีความเป็นระเบียบและชอบที่จะควบคุมทุกสิ่งด้วยตัวเอง การวางแผนล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรเป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ทำเป็นประจำ ชอบที่จะจัดให้ทุกสิ่งอันให้เป็นไปตามแบบแผนมีรูปแบบที่ชัดเจน ถ้าไปดูโต๊ะทำงานของคน type J ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งของถูกวางอย่างเป็นระเบียบแทบจะหลับตาหยิบได้เลยทีเดียว การกำหนดเวลาส่งงานหรืองานที่มีกำหนดตายตัวแน่นอนเป็นสิ่งที่คนกลุ่มนี้ชอบมาก ชอบทำงานเป็นชิ้นๆ เป็นโปรเจคไป เมื่อมั่นใจว่าผลงานที่ทำได้ตามแผนที่กำหนดก็จะส่งภายใน Deadline อย่างไม่ลังเล คือจะเครียดก่อนส่งแต่หลังส่งแล้วก็จะหมดกังวล


Perceiving (P) กลุ่มนี้ชอบชีวิตแบบสบายๆ มีอะไรก็ปรับเปลี่ยนกันไป ชอบแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้า และไม่ชอบที่จะถูกบังคับให้อยู่ในกรอบหรือกฏเกณฑ์ ห้องหรือโต๊ะทำงานรกๆ เป็นเรื่องปกติของคนกลุ่มนี้ (๕๕๕) การกำหนด Deadline หรือเส้นตายการส่งงานทำให้กลุ่มนี้ห่อเหี่ยวอย่างแรง เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่ชอบหาอะไรใหม่ๆ เรื่อยๆ มาเติมในชิ้นงาน และมักจะมองหาสิ่งที่ดีกว่าไปเรื่อยๆ เลยทำให้เป็นโรคเลื่อนไปไม่มีกำหนด อีกทั้งชอบทำอะไรหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน (แล้วมันจะเสร็จได้ไงเนี่ย) หากส่งงานไปเรียบร้อยแล้ว ลองสังเกตุว่าอาจมีการของานกลับไปแก้ไขใหม่เนื่องจากไม่มั่นใจว่างานจะดี คือกลุ่มนี้จะลั้นลามากในช่วงที่โปรเจคกำลังดำเนินอยู่ แต่ถ้าหากได้ส่งงานไปแล้วก็จะเกิดความJกังวลทันทีว่าจะดีพอหรือยัง หรือยังไม่ option อื่นๆ ที่ดีกว่านี้ 


ดังนั้นถ้าต้องการงานให้เสร็จทันเวลาและถ้าความสามารถในการทำงานเท่าๆกันระหว่าง P กับ J หัวหน้าส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้คนกลุ่ม J เพราะมั่นใจแน่ๆว่าคนกลุ่มนี้ทำงานเสร็จก่อนกำหนดแน่นอนแถมมีทวนซ้ำเพราะต้องการความ perfect 


ในที่สุดก็จบทั้ง 4 type of preferences แล้ว ที่เหลือในส่วนต่อไปก็คือการนำ Type ทั้งสี่ มาผสมกันแล้วก็จะได้เป็น Personality Type หรือลักษณะเฉพาะบุคคลออกมา



Friday, June 15, 2012

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า ตอนที่ 4

วิธีการตัดสินใจ Thinking (T) vs Feeling (F)  
ใน Preference นี้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ในส่วนของ Thinking หรือ T นั้นจะเป็นบุคคลที่เวลาตัดสินใจในเรื่องใดๆ จะใช้เหตุผลเป็นหลัก ยิ่งถ้าคนๆนั้นเป็น T มากๆ เค้าแทบจะไม่สนใจเลยว่าสิ่งที่ตัดสินใจนั้นจะกระทบความรู้สึกของใครเพราะตัวเค้านั้นจะคิดว่า เหตุผลมันชัดเจนอยู่ในตัวเองอยู่แล้ว และทุกคนก็ควรจะเข้าใจในเหตุผลนั้นๆ ดังนั้นถ้าให้พวก T ตัดสินใจอะไรไปแล้วก็มักจะเด็ดขาดและแจกแจงได้เสมอๆ (แต่อยู่ที่คนฟังจะรับได้หรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนี่ง ฮ่า ฮ่า ฮ่า)


ส่วน Feeling หรือ F นั้น จะเป็นประเภทที่คิดถึงความรู้สึกคนโน้นคนนี้ตล๊อด ตล๊อด ทำให้การตัดสินใจไม่เด็ดขาด มักจะมีความเห็นอกเห็นใจผู้คนรอบข้างซึ่งก็เป็นคุณลักษณะที่ดีของการสร้างความสัมพันธ์อันดีรอบๆตัว มักจะเข้าใจว่าคนอื่นต้องการอะไร ดังนั้นคนกลุ่มนี้มักจะตกอยู่ในที่นั่งลำบากและลำบากใจถ้าหากต้องไปคุยกับลูกน้องเพื่อที่จะบีบบังคับให้แยกแยะเรื่องส่วนตัวกับงานตามเหตุผลที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจกลายเป็นคนที่มักเถียงแทนลูกน้องเสมอๆ ด้วยความเห็นใจและเข้าใจนี่เอง การตัดสินใจของกลุ่มนี้จึงมักจะทำไม่ได้เด็ดขาดเพราะมักจะกังวลถึงผลลัพธ์ที่จะกระทบผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถฟันธงได้ซักที (จริงๆ ก็ไม่ใช่หมอลักษณ์เนอะ ) 


จากคุณลักษณะที่กล่าวมา กลุ่ม T จะมักจะถูกวางบทบาทให้เป็นผู้นำกลุ่มคนหรือฝูงชนใหญ่ๆ เนื่องจากการที่จะนำผู้คนไปในทิศทางเดียวกันได้นั้นต้องมีความเด็ดขาดในการตัดสินใจ และเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองได้ตัดสินใจไปแล้ว อาจจะเรียกได้ว่าต้องเป็นบุคคลที่ไม่แคร์สื่ออย่างแท้จริง เพราะการทำสิ่งใดๆ โดยส่วนใหญ่ก็มักจะไม่ค่อยมีใครที่ถูกใจทั้งหมด ในขณะที่กลุ่ม F นั้นก็จะถูกวางบทบาทเป็นผู้ประสานงานระหว่างกลุ่ม บุคคล หรือองค์กรเสียมากกว่าเนื่องจากจะมีความสามารถในการที่จะเข้ากับคนได้ดีและสามารถเข้าถึงใจคนอื่นได้ไม่ยาก 

ทั้งสองกลุ่มนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าเรารู้ว่าเราเป็นกลุ่มไหนเป็นหลักก็ทำให้เราสามารถที่จะปรับพฤติกรรมให้มันลดๆ ลงหน่อยได้ เช่น หัวหน้ากลุ่ม T ก็ควรให้เวลาลูกน้องได้ระบายความในใจถึงอุปสรรคที่บ้านที่ทำให้การทำงานมีผลกระทบ การแสดงความเห็นอกเห็นใจอย่างจริงใจก็ทำให้ได้ใจลูกน้องไปบ้างถึงแม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาให้ได้ก็ตาม  

ส่วนหัวหน้ากลุ่ม F ก็ควรพิจารณาผลงานลูกน้องที่ความเป็นจริงไม่ใช่จากความรู้สึกส่วนตัว หรือกลัวลูกน้องสนิทโกรธซะงั้น ก็อาจทำให้ลูกน้องที่ตั้งใจทำงานแต่ไม่สนิทท้อใจได้ง่ายๆ เหมือนกัน 

Monday, June 11, 2012

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า ตอนที่ 3

วันนี้จะพูดถึง Preference ถัดไปที่เกี่ยวกับวิธีการคิด การหา และประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะจำแนกได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ Sensing (S) vs Intuitive (N)
Sensing (S) คือ บุคคลที่คิดหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ใดๆ บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่จับต้องได้ เช่น วิเคราะห์จากข้อมูลที่เก็บเป็นตัวเลขและสถิติที่สามารถนำมาคำนวนวัดผลได้ มักจะชอบงานซ้ำๆ ที่มีขั้นตอนเดิมๆ ได้อย่างสบายใจ สนใจในรายละเอียดของงานหรือสิ่งรอบตัวมาก

ส่วน Intuitive (N) คือกลุ่มบุคคลที่มักจะทำอะไรตามสัญชาตญาณ ตามความรู้สึกโดยไม่รู้ตัว และมักจะชอบมองสิ่งต่างๆ ในภาพรวมมากกว่าที่จะสนใจรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ อีกทั้งเป็นคนที่ไม่ชอบทำงานซ้ำๆ เดิมๆ หรือถ้าถูกมอบหมายให้ทำงานซ้ำๆ (Routine) คนกลุ่มนี้มักจะมองหาช่องทางประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เพื่อย่นเวลาให้งานนี้เสร็จเร็วขี้น ซึ่งจะเป็นนิสัยของคนกลุ่มนี้ที่ชอบคิดอะไรและมองหาอะไรใหม่ๆที่ท้าทายเสมอ

ดังนั้นเมื่อ S มาเจอกับ N เรื่องยุ่งๆ มักจะเกิดเพราะต่างคนต่างสนใจในสิ่งที่แตกต่างกัน ถ้าหัวหน้าเป็น S จัดๆ ก็มักจะทำให้ลูกน้องต้องหวาดผวาเวลาส่งงานกันทีเดียว เพราะท่านจะถามละเอียดยิบย่อย แบบแทบจะคุ้ยสิ่งที่มีในกระดาษออกมาพูดกันทุกตัวอักษรทีเดียว ซึ่ง ณ. จุดนี้ลูกน้องท่านใดเป็น N จัดๆ ก็จะปวดเศียรเวียนเกล้าเพราะไม่รู้จะเตรียมอะไรเพราะสิ่งที่ตัวเองรู้คือสรุปมันดีหรือไม่ดี และควรทำอย่างไรต่อแบบไร้ข้อมูลสนับสนุน (อาจจะโอเว่อร์ไปนิด ) 

ในขณะที่ถ้าหัวหน้าเป็น N จัดๆ ก็มักจะไม่ค่อยสนใจรายละเอียดเท่าไหร่ ประโยคที่มักจะถามลูกน้องคือ "สรุปว่ามันเป็นยังไง...." หรือจะถามที่ข้อสรุปแล้วก็จะคิดวิเคราะห์ตามสัญชาตญาณ ซึ่งลูกน้องถ้าเป็น S ก็จะเกิดอาการน้อยใจกันไปว่าอุตส่าห์หารายละเอียดมาเพียบ ไม่ฟังตรูสาธยายสักหน่อยเลยเหรอ 

แต่อันนี้ก็ขึ้นกับ personality type ของลูกน้องอีก ว่าจะไปกันยังไงกับหัวหน้า แล้วถ้าเรารู้จักหัวหน้า เราก็จะไม่ต้องทำอะไรที่ไม่ได้ใช้ค่ะ การนำเสนองานก็จะมุ่งตรงประเด็นอย่างที่ท่านๆ ต้องการ ทำให้ลื่นไหลไปได้ไม่สะดุด รวมถึงเราจะสามารถเก็งข้อสอบ เอ้ย!!! คำถามที่อาจจะต้องเจอได้ เช่นคุณคิดว่าควรทำไงต่อไป เราก็จะนำเสนอได้ถูกใจท่านๆ เพราะถ้าท่าน S ท่านก็ต้องการคำแนะนำจากข้อมูลที่มีและคาดเดาความเป็นไปได้ ในขณะที่ท่าน N ก็อาจจะไม่ต้องใช้อะไรมาก แค่ทำตามแนวโน้มที่เราคิดและเห็นจากรอบๆ ตัวเราก็สามารถเอาตัวรอดจากการ present งานได้ (เฮ้อ...เหนื่อยเนอะ...)




Tuesday, May 29, 2012

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า ตอนที่ 2


ความเดิมจากตอนที่แล้ว เกี่ยวกับ ลักษณะเฉพาะหรือ Preference แบ่งได้ 4 หมวดใหญ่ๆ คือ
1. วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง Extrovert (E) vs Introvert (I)
2. วิธีการคิด การหา และประมวลผลข้อมูล Sensing (S) vs Intuitive (N)
3. วิธีการตัดสินใจ Thinking (T) vs Feeling (F)
4. วิธีการใช้ชีวิตในโลกใบนี้ Judging (J) vs Perceiving (P)


ใน 4 หมวดนี้เรียกว่าเป็น Four Type of Preferences หรือความชอบของแต่ละคน ซึ่งใน 1 คนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยทั้ง 4 preferences แล้วแต่ว่าในแต่ละ preference จะเป็นอย่างไหน เช่น หัวข้อที่ 1 เป็น E, หัวข้อที่ 2 เป็น N, หัวข้อที่ 3 เป็น T และ หัวข้อที่ 4 เป็น P ดังนั้นคนๆ นั้นจะเป็น ENTP แต่การจะเข้าใจการผสมผสานได้นั้นเราต้องเข้าใจและรู้จักรายละเอียดแต่ละ Preference เสียก่อน 



เริ่มจาก Preference แรก คือ วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างรวมไปถึงการที่เราจะพักฟี้นเพื่อดึงพลังงานมาใช้ในชีวิตประจำวัน


Extrovert (E) vs Introvert (I) 


คนที่มีลักษณะเป็น Extrovert หรือพวก E เป็นคนที่ชอบสังคมมากๆ ชอบพบปะผู้คนหรืองานสังสรรค์ ไม่ชอบอยู่บ้านคนเดียว อาจถึงอัดอั้นใจตายได้ ชอบพูดก่อนคิด บางครั้งก็พูดไปคิดไป บางครั้งปัญหาก็คิดแก้ได้ระหว่างพูดคือพูดไปพูดมาวิธีแก้ก็ออกมาเอง เวลาเหน็ดเหนื่อยคนกลุ่มนี้มักจะชอบออกไปสังคมพบปะเพื่อนฝูงหรือแค่อยู่ท่ามกลางผู้คนก็สามารถเติมเต็มพลังงานในชีวิต หรือเรียกว่าทำให้กระชุ่มกระชวยนั่นแหละ


คนที่มีลักษณะเป็น Introvert หรือพวก I เป็นคนที่ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ อยู่กับความคิดตัวเอง ชอบเขียนบันทึกเรื่องราวต่างๆ แทนการถ่ายทอดโดยการเล่า ชอบที่จะคิดก่อนพูดเสมอ และไม่ค่อยชอบพูดหรือแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ มักจะไม่ชอบความวุ่นวายจากผู้คนรอบๆตัว ดังนั้นการได้อยู่คนเดียวหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากกิจกรรมต่างๆ และทำกิจกรรมที่ชอบเช่นฟังเพลง อ่านหนังสือ ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้คนแบบ I มีความรู้สึกสดชื่นขึ้นมาได้ทีเดียว


ดังนั้นการที่จะต้องพบปะหรือทำงานเกี่ยวดองกับบุคคลสองบุคลิกนี้ต้องพยายามแยกแยะให้ได้ว่าเป็นประเภทใดเป็นหลัก ถ้าเป็น E การที่เราต้องการความคิดเห็นในที่ประชุม มักจะไม่ค่อยผิดหวัง เพราะเค้าจะแสดงความคิดออกมาอย่างเต็มที่ แต่ถ้าเป็น I ก็จะเป็นการสร้างความลำบากใจให้คนกลุ่มนี้ไม่น้อยในการพูดต่อหน้าคนเยอะๆ ดังนั้นถ้าในกลุ่มเรามีบุคคลประเภท I เยอะๆ การให้แสดงความคิดเห็นโดยส่งหัวข้อล่วงหน้าการประชุมและขอความคิดเห็นล่วงหน้าการประชุมจะเป็นการดีกว่า


แต่กระนั้นก็ยังมีอีกหลาย Preference ประกอบกันใน 1 บุคคล ซึ่งจะทำให้แต่ละคนแต่ละสถานการณ์ต้องกระทำแตกต่างไปอีก


Preference ถัดไป รอต่อตอนหน้านะจ๊ะ (เขียนเมื่อว่างค่ะ ^^)

Tuesday, September 6, 2011

Management topics: ลูกน้องและคนรอบข้างเป็นคนแบบไหนกันน้า ตอนที่ 1

เมื่อสมัยทำงานใหม่ๆ ทุกๆ คนต้องเริ่มจากเด็กน้อยที่วิ่งตามพี่ใหญ่ทั้งหลายรวมถึงเราที่ต้องทำงานในโรงงานสายการผลิตอุปกรณ์อิเล็คทรอนิก ปีแรกๆ คิดไม่เป็นหรือทำอะไรไม่เป็นก็ยังพออภัยด้วยความที่ใหม่ แต่พอปีที่ 2 ย่างเข้าปีที่ 3 ก็เริ่มต้องหัดมองเหตุการณ์รอบข้างและต้องหัดรวบรวมสิ่งต่างๆรอบตัวมาคิดเพื่อหาทางปรับปรุงเพื่อทำให้ดีขึ้น พออยู่นานๆเข้าหัวหน้าก็เริ่มให้โอกาสในการทำงานโดยการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น ให้เริ่มมีลูกน้องน้อยๆ บ้างเป็นการซักซ้อม


ปรากฏว่า สิ่งแรกที่คิดว่าต้องทำคือ มองหาอะไรที่เรายังขาด และอะไรที่เราต้องปรับปรุง ซึ่งในขณะนั้นเราจะรู้ตัวเราเองว่าเป็นคนที่มองอะไรในแง่ที่เป็นวิศวกรอย่างเดียว ไม่เคยเข้าใจอะไรที่เกี่ยวกับด้วยธุรกิจเลย แม้กระทั้งวิธีการบริหารลูกน้องว่าต้องทำอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อมีลูกน้องเป็นผู้ชาย ยังดีหน่อยที่ลูกน้องเป็นเด็กที่ Attitude ดีการทำงานด้วยกันจึงไม่มีปัญหาแรงๆ อย่างที่เกิดทั่วไปเมื่อลูกน้องชายหัวแข็งต้องมีหัวหน้าเป็นผู้หญิง

สิ่งที่ตัดสินใจว่าต้องทำเร่งด่วนหากต้องการที่จะไปให้ถึงจุดหมายของการทำงานคือ การเรียนต่อในด้านการบริหาร จึงตัดสินสมัครเรียนด้านการบริหารทั่วไปของ College of Management Mahidol University

เมื่อได้เข้าไปเรียนแล้วก็ไม่ผิดหวัง เพราะเป็นวิชาที่เปิดโลกทัศน์กบในกะลาอย่างเราได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะวิชา Organization Behavior เพราะเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพฤติกรรมขององค์กร คนรอบข้าง (เพื่อนร่วมงาน) คนข้างล่าง (ลูกน้อง) คนข้างบน (หัวหน้า)

พื้นฐานวิชานี้สนับสนุนให้เราเข้าใจลักษณะเฉพาะ (Characteristic) ของเราเองก่อน เพื่อที่จะได้รู้จุดแข็งจุดอ่อนตัวเองในการทำงานร่วมกับผู้อื่น จากนั้นก็ต้องเข้าใจลักษณะเฉพาะของคนรอบข้างเพื่อที่จะสามารถปรับเข้ากันและทำงานร่วมกันได้ในองค์กร

ลักษณะเฉพาะแบ่งได้ 4 หมวดใหญ่ๆ คือ
1. วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง Extrovert (E) vs Introvert (I)
2. วิธีการคิด การหา และประมวลผลข้อมูล Sensing (S) vs Intuitive (N)
3. วิธีการตัดสินใจ Thinking (T) vs Feeling (F)
4. วิธีการใช้ชีวิตในโลกใบนี้ Judging (J) vs Perceiving (P)

ใน 4 หมวดนี้เรียกว่าเป็น Four Type of Preferences หรือความชอบของแต่ละคน ซึ่งใน 1 คนนั้น จะต้องประกอบไปด้วยทั้ง 4 preferences แล้วแต่ว่าในแต่ละ preference จะเป็นอย่างไหน เช่น หัวข้อที่ 1 เป็น E, หัวข้อที่ 2 เป็น N, หัวข้อที่ 3 เป็น T และ หัวข้อที่ 4 เป็น P ดังนั้นคนๆ นั้นจะเป็น ENTP ซื่งรายละเอียดลักษณะจะต้องศึกษาในตอนต่อไป



Friday, August 19, 2011

ย้อนรอยอดีต: หางานยังไงดีในช่วงเศรษฐกิจซบเซา

นึกถึงปีที่จบการศีกษา 2451 (1998) ตอนนั้นเศรษฐกิจไม่ดีอย่างมาก การที่เด็กจบใหม่จะหางานได้มันเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง วิศวะน้อยๆ หลายๆ คนเริ่มร่อนใบสมัครกันอย่างต่ำ 10 ถึง 20 บริษัท ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึงเด็กอย่างเรา (ณ. เวลานั้น) บริษัทที่เข้ามารับนักศึกษาใกล้จบถึงที่ก็มีมากมายหลายที่ เช่น Schlumberger ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำเกี่ยวกับสำรวจ ขุดเจาะ น้ำมัน ได้มาเปิดบรรยายถึงการทำงาน ตำแหน่งที่ต้องการ และเกณฑ์เงินเดือนขั้นต่ำ


วินาทีนั้น ตาของชั้นก็เป็นประกายวิ้งๆ "โอ้! งานสำรวจหาน้ำมัน เป็นงานในฝันเลย ทำงานเดือนครึ่ง หยุดงานเดือนครึ่ง ส่วนเงินเดือนในตอนนั้น โอ ตั้งเกือบครึ่งแสนเชียว" ว่าแล้วไม่รอช้า หลังจบการบรรยาย รีบไปต่อแถวสมัครทันที แต่ที่สำคัญ เพื่อนรักของชั้นเองก็ถูกใจตำแหน่งเดียวกัน (เลยมีการแอบหวังว่าจะได้ทำงานด้วยกันอีกต่างหาก)


และแล้ว เราผ่านสัมภาษณ์รอบแรก แต่รอบสองนี่สิ แย่ชะมัด ตื่นเต้นมากๆ ด้วยความที่อยากได้งานนี้สุดๆ แต่ข้อสำคัญคือ เราขาดการเตรียมตัว (ถึงแม้ไม่มีเวลาให้เตรียมก็เถอะ) มาคิดย้อนไปถ้าคราวนั้นรู้จักทำสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะไม่พลาดก็ได้



1. พยายามนึกตั้งคำถามตัวเองและก็หาคำตอบเตรียมไว้ เพราะในสถานการณ์ที่เราตื่นเต้นอยากได้งานนั้นมากๆ มันพาลคิดไม่ออกซะอย่างนั้น ที่สำคัญคือเค้าสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ ยิ่งทำให้นึกคำตอบยากเข้าไปใหญ่ถ้าหากขาดการเตรียมตัว คำว่าเตรียมตัว หมายความว่าเราต้องซักซ้อมนึกในหัวเราให้แม่นๆ ถึงคำตอบที่เราตั้งเองตอบเอง



2. หายใจลึกๆ เมื่อต้องเผชิญหน้ากับผู้สัมภาษณ์ ถ้าไม่มั่นใจขอให้ถามอีกครั้งและบอกผู้ให้สัมภาษณ์ว่าขอเวลาเราแป๊บนึง ดีกว่าตอบไปแล้วไม่เกี่ยวข้องกับคำถามหรือตอบตะกุกตะกัก ซึ่งจะยิ่งทำให้สถานการณ์แย่ยิ่งขึ้น




3. ถ้ามีวี่แววว่าจะไม่ได้ ให้ถามผู้สัมภาษณ์ไปเลยว่าเราต้องปรับปรุงตรงไหนเวลาที่สัมภาษณ์




ที่สุดแล้วถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียใจ เพราะเราก็ไม่ผ่านการสัมภาษณ์ในครั้งนั้น ในขณะที่เพื่อนซี้ได้งานนั้นไปก็ตั้งหน้าตั้งตาหางานต่อไปด้วยความหวังว่าซักวันต้องเป็นทีของเรามั่ง




สิ่งที่เราควรต้องทำคือ ทำการบ้านเกี่ยวกับบริษัทที่เราจะไปสัมภาษณ์ อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าบริษัทนี้ทำอะไร ไม่ใช่สมัครเพราะเห็นชื่อตำแหน่งกับคุณวุฒิตรงตามที่เราต้องการและจบมา




เด็กจบใหม่ก็ควรจะจำเรื่องโปรเจ็คของตนเองให้แม่นๆ เนื่องจากเป็นสิ่งเดียวที่ผู้สัมภาษณ์จะถามเพื่อวัดระดับไหวพริบ ความรู้ ความสามารถ ดังนั้นถ้าเราไม่รู้หรือไม่ตอบแบบไม่มั่นใจในสิ่งที่เราควรจะรู้มากที่สุดอย่างเช่นโปรเจคของปี 3-4 นี้แล้ว อาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้สัมภาษณ์ไม่มั่นใจใจองค์ความรู้รวมถึงความขยันขันแข็งในการทำงานภายภาคหน้าของเรา

เพราะฉะนั้น เราความเตรียมตัวซักซ้อมในสิ่งที่เราทำไว้ให้แม่น ถึงแม้ว่าเราจะบอกว่า "ก็ตื่นเต้นเลยจำไม่ได้" แต่ในฐานะที่เคยเป็นผู้สัมภาษณ์วิศวะกรน้อยมาบ้าง ก็พอจะดูออกว่า อะไรคือต้นเหตุที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ตอบคำถามไม่ได้ เช่น ความไม่รู้ หรือไม่เคยทำ หรือเพราะความตื่นเต้น

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่องค์กรส่วนใหญ่มองหาคือ ทัศนคติของผู้ถูกสัมภาษณ์ (เรียกว่า Attitude) ถ้าดูท่าทางแล้วมุ่งมันหนักเอาเบาสู้ พร้อมเรียนรู้ทุกสิ่งอย่าง ไม่ท้อต่อความยากลำบาก มันก็ทำให้ได้ใจกันไปครึ่งนึง อีกครึ่งที่เหลือก็คือคุณสมบัติด้านอื่นๆ ที่ต้องวัดเทียบกับผู้ถูกสัมภาษณ์รายอื่นๆ 

แต่ท่าทางที่แสดงออกก็ต้องมาจากสิ่งที่เราเป็นจริงๆ ดังนั้นไม่ควรที่จะเสแสร้งในสิ่งที่เราไม่ได้เป็น เพราะเมื่อถูกรับเข้าทำงานแล้วยังต้องถูกทดลองงานอีกระยะเวลานึงซึ่งก็มากพอที่หัวหน้าจะมองออกว่า Attitude ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร

แค่นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียน แต่ยังมีอีกหลากหลายประสบการณ์ที่ต้องค่อยๆ ทยอยสะสมกันไปค่ะ ^^